5 อันดับโรคมะเร็ง ที่พบบ่อยในคนไทย

ประกันมะเร็ง ออนไลน์,โรคมะเร็งในคนไทย

เมื่อพูดถึง โรคมะเร็ง หลายๆ คนคงหวาดกลัวกันมาก เพราะเป็นโรคที่ใครๆ ก็ไม่อยากเป็น ตามรายงานแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565) ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในสถานการณ์โรคมะเร็งโลก ระบุว่า โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

 

ซึ่งในประเทศไทย จากสถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ  จากข้อมูลล่าสุดจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าปัจจุบัน คนไทยมีผู้ป่วยโรคมะเร็งถึงวันละ 336 คน หรือ 122, 757 คนต่อปี และเสียชีวิตวันละ 221 คน หรือ 80,665 คนต่อปี โดยข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งรายงานว่า ในประเทศไทย พบโรคมะเร็งใน เพศหญิง 151 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และพบในเพศชาย 169.3 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน

 

เมื่อเปรียบเทียบจากสถิติจะพบว่า ในแต่ละวันมีคนไทยเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปีมะเร็งจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งจะมาพบกับเราในขั้นลุกลามระดับใด

 

 

5 มะเร็งที่พบมากในเพศชาย


5 อันดับโรคมะเร็งยอดฮิตที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศชาย คือมะเร็งชนิดใด? สาเหตุของโรคมะเร็ง พร้อมแนวทางการป้องกันโรคมะเร็ง ที่คุณผู้ชายควรรู้และใส่ใจระวังป้องกันก่อนเกิดโรค

 

1. มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก (Colon & Rectum) 


มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า โพลิป (Polyp) เป็นเซลล์เนื้อผิดปกติ ที่งอกจากผนังลำไส้ มีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เนื่องจากขนาดที่เล็กของติ่งเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้ 

 

สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้แก่

 

  • การรับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูปอื่นๆ
  • น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน
  • ขาดการออกกําลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • มีประวัติเนื้องอกที่ผนังลําไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย
  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก

 

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเช่น ผักและผลไม้ รวมไปถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันต่ำจะช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • ตรวจคัดกรอง ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่สำหรับผู้ที่มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว ควรเริ่มตรวจคัดกรองที่อายุ 40 ปี

 

 

2. มะเร็งตับ และท่อน้ำดี (Liver & Bile duct) 


มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์บริเวณตับ มีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติ และพัฒนาเป็นมะเร็ง ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีนั้นเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบผิวภายในท่อน้ำดีมีการเปลี่ยนแปลง หรือเจริญเติบโตผิดปกติจนเป็นเนื้อร้าย

สาเหตุของโรคมะเร็งตับ และท่อน้ำดี  ได้แก่

 

  • ภาวะตับแข็ง
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • การได้รับสารพิษ จากเชื้อรา
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากการกินปลาน้ำจืดดิบ
  • การมีภาวะท่อน้ำดี อักเสบเรื้อรัง


แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งตับ และท่อน้ำดี 

 

  • รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิด
  • ให้ความรู้การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ให้ความรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม
  • รณรงค์ป้องกันเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ


3. มะเร็งปอด และหลอดลม (Trachea bronchus & Lung)


มะเร็งปอด เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวเจริญเติบโตผิดปกติอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ และเกิดเป็นก้อนเนื้อร้ายในที่สุด โดยเชื้อร้ายนี้นอกจากจะแทรกซึมและทำลายปอดแล้วยังมีการรามไปที่อวัยวะอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าตัวเองเป็นเชื้อร้ายมักจะทำลายปอดจนยากที่รักษา

สาเหตุของโรคมะเร็งปอด และหลอดลมได้แก่

 

  • บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า
  • การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส ก๊าซเรดอน สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด


แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปอด และหลอดลม

 

  • งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 


4. มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate)


มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมากจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง โดยเซลล์มะเร็งเหล่านั้นจะสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด หรือต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหายและถูกทำลายในที่สุด

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่

 

  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากก็ยิ่งสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะพบมากในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบิดาหรือพี่น้องเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเสี่ยงกว่าคนทั่วไป
  • อาหาร การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ให้พลังงานสูง และอาหารจำพวกเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้


แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ 
  • ออกกำลังกาย ไม่เครียด งดสูบบุหรี่ 
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้อัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น ได้แก่ การกินเนื้อแดง เนื้อติดมัน อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารปิ้งย่าง 

 


5. มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal)


มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเซลล์ภายในหลอดอาหารมีการแบ่งตัวในจำนวนมากขึ้นผิดปกติทำให้เกิดเป็นเนื้องอกร้ายหรือมะเร็งขึ้นมา และบางครั้งเซลล์มะเร็งเหล่านี้อาจลุกลามเข้าสู่อวัยวะใกล้เคียง แพร่กระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย

สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหารได้แก่

 

  • การสูบบุหรี่ ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณและระยะเวลาที่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะมะเร็งหลอดอาหารชนิด Squamous cell carcinoma
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร โดยเฉพาะมะเร็งหลอดอาหารชนิด Squamous cell carcinoma 
  • การมีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
  • กินผักและผลไม้น้อยขาดสารอาหารบางชนิดอย่างต่อเนื่องจากการบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่
  • รับประทานอาหารประเภทย่าง (เช่น ปลาหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง) อาหารหมักดอง
  • กินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัด ๆ เป็นประจำ


แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

 

  • ไม่สูบบุหรี่ 
  • งดหรือควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มในปริมาณที่พอดี การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้มากขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนัก และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นจำพวกผักผลไม้ 
  • รักษาโรคกรดไหลย้อน หรือภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้น

 


 

5 มะเร็งที่พบมากในเพศหญิง

 


สำหรับโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงนั้น ชนิดของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอดและหลอดลม มะเร็งตับและท่อน้ำดี ซึ่งผู้หญิงทุกคนล้วนมีโอกาสเป็นได้ทั้งสิ้น ดังนั้น การรู้จักกับโรคมะเร็งเหล่านี้และรู้ว่าจะป้องกันตัวเองจากโรคได้อย่างไรจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้อย่างมาก

 

1. มะเร็งเต้านม (Breast)


มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง ไปสู่อวัยวะที่ใกล้เคียงเช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ

สาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมได้แก่

 

  • ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ คือ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีโอกาสที่จะมีความผิดปกติของยีนในเซลล์เพิ่มขึ้น 
  • ผู้ที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนมากกว่าอายุ 50 ปี 
  • เต้านมมีเนื้อเยื่อแน่น หมายถึง มีต่อมนํ้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไปทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  • ดื่มแอลกอฮอล์  ผู้หญิงที่ดื่มมากกว่า2-5 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ดื่ม 1.5 เท่า


แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รักษาน้ำหนัก (ต่ำกว่า 25 BMI)
  • รับประทานผักและผลไม้ เมล็ดธัญพืช ผลิตภัณฑ์นมทีไม่มีไขมัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี สารพิษแสงแดดและรังสีอื่นๆที่เป็นอันตราย
  • ตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปี


2. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colon & Rectum)


มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมักเกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า โพลิป เป็นเซลล์เนื้อผิดปกติ ที่งอกจากผนังลำไส้ มีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เนื่องจากขนาดที่เล็กของติ่งเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งหากสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่เริ่มแรกและก็สามารถทำการตัดรักษาให้หายได้

 

สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้แก่

 

  • การรับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูป
  • น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน
  • ไม่ออกกําลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจํา
  • มีประวัติเนื้องอกที่ผนังลําไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย
  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก


แนวทางการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ละทวารหนัก

 

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเช่น ผักและผลไม้ รวมไปถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันต่ำจะช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเริ่มต้นตรวจที่อายุ 50 ปี สำหรับผู้ที่มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว ควรเริ่มตรวจคัดกรองที่อายุ 40 ปี


3. มะเร็งปากมดลูก (Cervix uteri) 


โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส  หรือเอชพีวี ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV เป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามเชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

 

สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกได้แก่

 

  • การมีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย โรคหนองในแท้ โรคซิฟิลิส และโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ 
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะหากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • การสูบบุหรี่


แนวทางการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 

  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน 
  • งดสูบบุหรี่ 
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี โดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มตรวจในหญิงที่อายุ 21 ปี ขึ้นไป


4. มะเร็งปอด และหลอดลม (Trachea bronchus & Lung) 


มะเร็งปอด เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของปอดเจริญเติบโตผิดปกติอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถควบคุมได้ และเกิดเป็นก้อนเนื้อร้ายในที่สุด โดยเนื้อร้ายนี้สามารถลุกลามและกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็มักจะอยู่ในระยะโรคที่รุนแรงแล้ว 

 

สาเหตุของโรคมะเร็งปอดและหลอดลมได้แก่

 

  • การสูบบุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า 
  • การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส ก๊าซเรดอน  สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด


แนวทางการป้องกันมะเร็งปอดและหลอดลม

 

  • งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์


5. มะเร็งตับ และท่อน้ำดี (Liver & Bile duct)


มะเร็งตับนั้นเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์บริเวณตับ มีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติ และพัฒนาเป็นมะเร็ง ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีนั้น เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบผิวภายในท่อน้ำดีมีการเปลี่ยนแปลง หรือเจริญเติบโตผิดปกติจนเป็นเนื้อร้าย

 

สาเหตุของโรคมะเร็งตับ และท่อน้ำดีได้แก่

 

  • ภาวะตับแข็ง
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • การได้รับสารพิษ จากเชื้อรา
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากการกินปลาน้ำจืดดิบ
  • การมีภาวะท่อน้ำดี อักเสบเรื้อรัง


แนวทางการป้องกันมะเร็งตับ และท่อน้ำดี

 

  • รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ ชนิดบีในเด็กแรกเกิด ทุกคน
  • ป้องกันและรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับ
  • ปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ
  • รับประทานผัก ผลไม้สด เป็นประจํา
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง ได้แก่อาหารที่มีราขึ้น อาหารใส่ดินประสิว เช่น ปลาร้า 
  • ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก เบคอน ฯลฯ อาหารหมักดอง เค็มจัด เผ็ดจัด เนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง เป็นต้น
  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์

 

สำหรับใครที่กำลังศึกษาหรือกำลังหาแผนประกันมะเร็งที่เหมาะสม สำหรับการวางแผนสุขภาพระยะยาวของนำเสนอแผน ประกันมะเร็งออนไลน์ ไทยประกันชีวิต มาช่วยคุ้มครองตนเองจะได้ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของตนเองและครอบครัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนก็สามารถทำได้ ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมและคุ้มค่า ที่สำคัญสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

 

โรคมะเร็ง ใครๆ ก็คงไม่อยากจะเป็นดังนั้นการดูและสุขภาพของตนเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ควรออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อโรค ที่สำคัญเราควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แค่นี้ก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ในระดับหนึ่ง