สมัยที่คุณตัวคนเดียวหรือคุณเป็นโสดวิธียื่นภาษีก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ซึ่งจะมีทางเลือกเพียงทางเดียว คือ ยื่นด้วยจำนวนรายได้ที่เรามี และหักลดหย่อนตามสัดส่วนต่างๆ ให้ครบถ้วนก็สามารถคำนวณภาษีได้ แต่เมื่อแต่งงานมีคู่สมรสแล้วนั้น สามีภรรยาควรจะช่วยกันวางแผนภาษี เพราะการวางแผนภาษีที่ดีจะช่วยให้เสียภาษีถูกต้องและประหยัด ซึ่งวิธียื่นภาษีสำหรับคู่สมรถ จะมีด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. แยกยื่นแบบแสดงรายการ
2. รวมยื่นแบบแสดงรายการ
3. แยกยื่นเฉพาะเงินเดือน
ส่วนเงินได้อื่นๆ นำไปยื่นรวมในนามอีกฝ่าย แล้วจะเลือกยื่นแบบไหนดี เรามีแนวทางในการพิจารณาเพื่อช่วยตัดสินใจในเรื่องนี้มาฝาก
คู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกัน สามารถแยกยื่นแบบการเสียภาษีได้ ต่างคนต่างยื่นแบบ จากรายได้ส่วนตัวของตนเองได้ ถ้ารายได้ของคู่สมรสอยู่ในฐานภาษีเดียวกัน ไม่ต้องนำรายได้มารวมกัน เช่น สามีมีรายได้สิทธิ 300,000 บาท ภรรยามีรายได้ 280,000 บาท ทั้งคู่จะอยู่ในฐานภาษี 5% แต่ถ้านำรายได้มารวมกัน จะทำให้ฐานภาษีเพิ่มขึ้น จะเสียภาษีมากกว่าการแยกยื่น การแยกยื่นการเสียภาษีสามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อน และค่าใช้จ่ายแยกกันตามกฎหมายได้เลย วิธีนี้เหมาะกับกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีรายได้พอๆ กัน เสียภาษีในอัตราฐานภาษีที่ใกล้เคียงกัน และมีค่าลดหย่อนต่างๆ ใกล้เคียงกัน เมื่อแยกยื่นจะเป็นการกระจายภาษี ทำให้ต่างฝ่ายต่างเสียภาษีในอัตราที่เหมาะสม นอกจากนี้การแยกยื่นจะทำให้เกิดความสะดวกกับทั้ง 2 ฝ่าย หากไม่ต้องการให้อีกฝ่ายมายุ่งเกี่ยวในการบริหารเงินส่วนตัวของตนเอง
คู่สามีภรรยาสามารถรวมเงินที่ได้รับทั้งหมดของทั้ง 2 ฝ่ายรวมเข้าด้วยกัน แล้วสามารถนำไปให้ฝ่ายสามีหรือฝ่ายภรรยาเป็นผู้ยื่นแบบ
วิธีการแยกยื่นภาษีเฉพาะเงินเดือน สามารถทำได้ 2 แบบ คือ
1. ภรรยาแยกยื่นแบบภาษีเฉพาะเงินเดือนของตัวเอง ส่วนเงินได้อื่นๆ นำไปรวมกับเงินได้ของสามี แล้วยื่นภาษีรวมกันในนามสามี
2. สามีแยกยื่นแบบภาษีเฉพาะเงินเดือนของตัวเอง ส่วนเงินได้อื่นๆ นำไปรวมกับเงินได้ของภรรยา แล้วยื่นภาษีรวมดันในนามภรรยา
เงินได้อื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่าบ้าน เงินรับจ้าง เป็นต้น วิธีนี้เหมาะกับคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินเดือนมาก และมีรายได้จากทางอื่นด้วย แต่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในส่วนของเงินเดือนเต็มสิทธิทางกฎหมายแล้ว ทำให้รายได้อื่นที่เพิ่มมา นอกจากจะหักค่าใช้จ่ายเพิ่มไม่ได้ ยังเป็นรายได้ส่วนเพิ่มที่ทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องเสียภาษีมากขึ้น ก็สามารถยื่นแบบเฉพาะเงินเดือน และนำเงินได้อื่นๆ ไปรวมกับอีกฝ่ายที่มีรายได้น้อยกว่า และยังใช้สิทธิค่าลดหย่อน และค่าใช้จ่ายยังไม่เต็มสิทธิ ก็จะช่วยประหยัดภาษีได้มากกว่า
นอกจากนี้เรามีวิธีที่ลงทุนแล้วคุ้มค่าอีกวิธีหนึ่งนั่นก็คือ การลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
ผู้ที่ทำประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ผู้ที่ทำประกันสุขภาพให้ตนเอง เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง รวมถึงเบี้ยประกันคุ้มครองสุขภาพของตนเองสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สามารถขอลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ผู้ที่ทำประกันสุขภาพให้บิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้
ผู้ที่ทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงุทนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
คู่สามี-ภรรยาที่กำลังตัดสินใจว่า ควรยื่นภาษีแบบไหนที่ช่วยให้คุ้มค่าและประหยัดภาษีได้มากกว่า คงพอมีแนวทางในการพิจารณาแล้ว โดยให้ดูที่ประเภทของรายได้ และรายได้ทั้งปีของทั้งคู่เป็นหลัก ทั้งนี้การลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันก็ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ ทางไทยประกันชีวิตของเราก็มีประกันออมทรัพย์ ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี มันนี่ฟิต เวลท์ตี้ 11/5 ประกันออมเงินดีๆ ที่ตอบโจทย์ เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวช่วยดูแลในเรื่องการเงินของคุณ ด้วยจุดเด่นการออมสั้น (5) แต่คุ้มครองยาว (11) ที่จะช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างใจ
จุดเด่นของแบบประกันสะสมทรัพย์ คือ ออมสั้น มีเงินคืนทุกปี ลดหย่อนภาษีได้ และยังสามารถซื้อประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี มันนี่ฟิต เวลท์ตี้ 11/5 ผ่านออนไลน์ได้เลย
- ได้รับผลตอบแทนก้อนใหญ่ที่จับต้องได้
- จ่ายเบี้ยระยะสั้นเพียง 5 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองยาวถึง 11 ปี
- รับเงินคืนระหว่างสัญญาทุกปี
- เมื่อครบกำหนด 11 ปี รับผลตอบแทนรวม 560%*
- สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท
- มีหลากหลายแผนให้เลือกตามกำลังการใช้จ่ายของคุณ ตั้งแต่ทุนประกันเริ่มต้นในหลักหมื่น แต่เมื่อครบสัญญาได้รับเงินคืนหลักแสน* ไปจนถึงผลประโยชน์หลักล้าน และความคุ้มครองสูงสุดกรณีเสียชีวิตสูงถึง 3,000,000 บาท*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด และรายละเอียดอาจแตกต่างกันตามแต่ละแผน
ถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ได้รับผลประโยชน์ที่คุ้มค่า แถมยังสามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษี ได้อีกด้วย