ระวัง ดึงแขนลูกแรงเสี่ยงกระดูกข้อศอกเคลื่อน

ประกันอุบัติเหตุ ออนไลน์, กระดูกข้อศอกเคลื่อน

 

บ่อยครั้งที่คุณพ่อ คุณเเม่ หรือผู้ปกครองหลายๆ ท่าน เล่นกับลูกหลานของท่านแรงๆ โดยการดึงหรือยกลูกขึ้นจากพื้นแกว่งเป็นชิงช้าไปมา หรือการจับข้อมือลูกยกตัวลอยให้ยืนขึ้น จนทำให้เผลอดึงแขนลูกเเรงๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุในการทำให้ลูกของท่านเสี่ยงกระดูกข้อศอกเคลื่อนได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กเป็นอย่างมาก

            

 เรามาทำความรู้จักกับกระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก จะมีสาเหตุ อาการและการป้องกันไม่ให้กระดูกข้อศอกเคลื่อนอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

 

สาเหตุกระดูกข้อศอกเคลื่อน

 

สาเหตุหลักของกระดูกข้อศอกเคลื่อน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุเช่น คุณพ่อ คุณแม่มีพฤติกรรมเล่นกับลูกแรงๆ โดยการ อุ้มเด็กแกว่งไปมาเป็นชิงช้า ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจพบได้ เช่น อุบัติเหตุลื่นล้ม จับมือลูกแล้วกระตุกอย่างฉับพลัน เช่น ลูกยังเดินไม่ถนัด ทำท่าจะหกล้ม คุณพ่อคุณแม่ต่างตกใจ กระตุกแขนลูกอย่างแรง หรือการดึงแขนเพื่อยกตัวลูกขณะขึ้นบันไดเลื่อน เป็นต้น ซึ่งกระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็กมักเกิดกับเด็กในวัย 1-5 ปี หรือวัยเริ่มเดินเริ่มวิ่งได้ เพราะว่าเด็กยังมีสรีระของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อศอก ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์

 

อาการกระดูกข้อศอกเคลื่อน

 

เด็กบางคนอาจจะยังพูดไม่รู้เรื่องจึงเป็นเรื่องยากที่เด็กจะเดินมาบอกคุณพ่อคุณแม่เมื่อได้รับบาดเจ็บ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการของลูกๆ ได้ ดังนี้

 

-          ลูกร้องไห้จ้าทันทีหลังถูกดึงแขน

-          ลูกจะงอศอกอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมขยับแขน บางรายอาจมีอาการบวมแดงที่ข้อศอกร่วมด้วย

-          ข้อศอกอยู่ในท่างอเล็กน้อย หุบเข้าหาลำตัว ยังขยับหัวไหล่ได้แต่ไม่ขยับข้อศอก

-          ถ้าอาการไม่มากลูกอาจขยับแขนได้เป็นปกติ ก็ยังคงวิ่งเล่นได้ เพียงแต่จะไม่ยอมใช้แขนข้างที่เป็นปัญหา แต่ก็ควรพาไปตรวจอาการที่โรงพยาบาลเพื่อเช็คดูอีกรอบหนึ่ง

 

วิธีดูแลรักษากระดูกข้อศอกเคลื่อนเบื้องต้น

-          ให้ส่วนที่เจ็บอยู่นิ่งๆ มากที่สุด แล้วนำลูกส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

-          อย่าพยายามขยับข้อศอกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง เพราะอาจทำผิดพลาดแล้วทำให้บาดเจ็บมากขึ้น

-          ระวังข้อศอกให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด อาจจะใช้มืออีกข้างช่วยประคองไว้

-          ระหว่างทางไปพบแพทย์ ให้ประคบเย็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บไว้

 

วิธีป้องกัน

 

-       ไม่เล่นเหวี่ยงโดยจับแขนลูกเหวี่ยงเป็นชิงช้า หรือดึงแขนลูกแรงๆ

-       อุ้มลูกโดยช้อนใต้รักแร้หรือจับแขนท่อนบนที่ติดกับหัวไหล่

-            ห้ามดึงลูกตรงแขนท่อนล่าง

-            อย่ายกตัวเด็กโดยจับที่ข้อมือ แบบที่พ่อจับข้อมือขวา แม่จับข้อมือซ้ายแล้วยกเด็กลอย

อย่างไรก็ตาม หากลูกเคยกระดูกข้อศอกเคลื่อนมาก่อน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องระวังให้มากขึ้น ไม่จับแขนหรือดึงแขนลูกแรงๆ เพราะอาจเป็นซ้ำได้อีก ถ้าเกิดเป็นซ้ำๆ บ่อยๆ จะทำให้เด็กเกิดอาการข้อหลวมได้

 

 

แบบประกันอุบัติเหตุ พี.เอ. Love แฟมิลี่ ประกันอุบัติเหตุเพื่อคนที่คุณรัก

 

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อนคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครอง ควรที่จะมีตัวช่วยในการวางแผนสุขภาพของลูกโดยการซื้อประกันอุบัติเหตุ พี.เอ. Love แฟมิลี่ ของไทยประกันชีวิต เพราะความเสี่ยงอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่รับมือได้ 

 

จุดเด่นแบบประกันอุบัติเหตุ พี.เอ. Love แฟมิลี่

 

-          รับความคุ้มครองสูงสุด 4,000,000 บาท ในวันหยุดประจำปีกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

-          รับเงินชดเชยสูงสุด 240,000 บาท ชดเชยรายได้ให้ครอบครัว 1 ปี กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหต

-          คุ้มครอง 2 เท่า กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในวันหยุดประจำปี ในปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป

-          มีเงินชดเชยสูงสุดวันละ 3,000 บาท หากนอนในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ

-          เบี้ยฯ เริ่มต้นเพียง วันละ 9 บาท จ่ายง่าย สบายกระเป๋า

-          ผลประโยชน์ ความคุ้มครองเพิ่มขึ้น เมื่อทำประกันต่อเนื่อง

จะได้มีตัวช่วยในการคุ้มครองลูกหลาน ในเรื่องค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งตอนนี้ยังสามารถซื้อประกันอุบัติเหตุ พี.เอ. Love แฟมิลี่ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้วด้วย อยู่ที่ไหนก็สามารถซื้อได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

            *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด และรายละเอียดอาจแตกต่างกันตามแต่ละแผน