เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงานแล้ว นอกจากเรื่องของบทบาทการทำงานในหน้าที่ต่างๆ ที่เราต้องเรียนรู้แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่วัยเริ่มต้นทำงานจำเป็นต้องรู้ นั่นก็คือ การยื่นภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ที่บุคคลที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ต้องยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ปีละ 1 ครั้ง โดยสำหรับมือใหม่ในการยื่นภาษีนั้นมีเรื่องที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งนั่นก็คือ ลดหย่อนภาษี ซึ่งเป็นหนึ่งตัวช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง
การลดหย่อนภาษี คือ รายการต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เราจ่ายภาษีน้อยลง โดยจะช่วยลดรายได้สุทธิของเราให้ลดลง จึงทำให้เราเสียภาษีน้อยกว่าคนที่ไม่มีรายการลดหย่อนภาษีเลย โดยการลดหย่อนก็จะขึ้นกับรายการต่างๆ ที่กฎหมายไว้กำหนดนั่นเอง
นอกจากเรื่องของเกณฑ์รายได้ที่ส่งผลต่อการเสียภาษีแล้ว ก็มีรายการต่างๆ ที่ทางกรมสรรพากร ได้กำหนดให้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ด้วยกันหลากหลายประเภท โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้
รายการที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวและครอบครัวบางรายการจะสามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้
ค่าลดหย่อนส่วนตัว จะลดหย่อยนได้จำนวน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน
ค่าลดหย่อนบุตร เมื่อมีบุตรพ่อแม่จะสามารถลดหย่อนได้ คนละ 30,000 - 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบิดามารดา จะอยู่ที่คนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนสำหรับผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
สำหรับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นตัวช่วยในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก็จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์ด้านประกันชีวิต และ กลุ่มของผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนในกองทุนรวม
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันออมทรัพย์ หรือ ประกันสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา จะลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงุทนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนประกันสังคม สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,850 บาท (จากเดิมไม่เกิน 9,000 บาท)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ
กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) มีการลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ
กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) จะลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาท (ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2563) โดยไม่ต้องรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 ต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ
สำหรับมนุษย์เงินและผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการซื้อกองทุน หรือประกันรูปแบบต่างๆ เช่น ประกันออมทรัพย์ ประกันสะสมทรัพย์ ที่ได้ทั้งผลประโยชน์จากการลงทุน และการออมเงิน พร้อมกับการลดหย่อนภาษีให้เลือกมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือประกันออมททรัพย์ มันนี่ฟิต เวลท์ตี้ 11/5 จากไทยประกันชีวิตที่เป็นการออมเงินระยะสั้น แต่ได้ผลตอบแทนยาวถึง 11 ปี และที่สำคัญคือสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ถึง 10,000 บาทเลยทีเดียว
นอกจากการลดหย่อนจากเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การซื้อประกันหรือการลงทุนในกองทุนแล้ว ภาครัฐก็มีการลดหย่อนเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีรายการต่างๆ ดังนี้
ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าซื้อโครงการบ้านหลังแรก 2559 ไม่เกิน 120,000 บาท
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ลดหย่อนเพิ่มได้อีกตามที่จ่ายจริง เมื่อมีเงินได้จากค่าเช่า ค่า-วิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่นๆ
การบริจาคนั้นนอกจากจะได้ช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ แล้ว ก็ยังสามารถใช้เป็นหนึ่งในรายการลดหย่อยนภาษีได้เช่นกัน โดยมีรายการต่างๆ เช่น
การบริจาคเงินแก่พรรคการเมือง จะลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
การให้เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
การบริจาคเงินทั่วไป จะได้การลดหย่อนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
รายการและครอบคลุมการใช้จ่ายแทบทุกด้าน
เรื่องการของการยื่นภาษีกับวัยทำงานเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับวิธี หลักเกณฑ์ รวมถึงการลดหย่อนภาษีไว้ให้ครบถ้วน เพื่อที่ผลประโยชน์สูงสุดแก่มือใหม่หัดยื่นภาษีทุกคน