How to เก็บเงินแต่งงาน ฉบับมนุษย์เงินเดือน

ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี, เก็บเงินแต่งงาน

ช่วงสิ้นปีแห่งของเทศกาลและการเฉลิมฉลองแบบนี้ ถือเป็นฤกษ์ดีที่หลายคนหลายคู่จะ จัดงานแต่งงาน  ซึ่งหากพูดถึงงานแต่งงานนอกจากการตกปลงใจของทั้งสองฝ่ายแล้ว สิ่งที่ทุกคู่จะต้องคำนึงถึงก็คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมา โดยเฉพาะสำหรับคู่ที่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่ไม่ได้มีเงินเก็บมากมาย การจะจัดงานแต่งจำเป็นที่จะต้องวางแพลนเก็บเงินและการวางแพลนสำหรับอนาคตร่วมกัน

 

 

วิธีเก็บเงินแต่งงาน

 

หากพูดถึงการเก็บเงินแต่งงานสำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้ว หลายคนหลายคู่ก็อาจจะท้อกันตั้งแต่เริ่มต้น เพราะดูเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย แต่ก็เป็นเรื่องที่เชื่อว่าหลายคนจะทำได้หากใช้ How to เก็บเงินแต่งงาน ฉบับมนุษย์เงินเดือน 5 ข้อ ดังนี้

 

1.       ปักธงกำหนดวันแต่งงาน

2.       สำรวจค่าใช้จ่ายทั้งหมด

3.       เก็บเงินเพื่อการแต่งงาน

4.       เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน

5.       ใช้เงินตามแผนที่กำหนด

 

 

1. ปักธงกำหนดวันแต่งงาน

 

เพื่อให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนให้กำหนดช่วงเวลาที่จะจัดงานแต่งไว้เป็นอันดับแรก กำหนดช่วงเวลาว่าจะจัดงานเมื่อไร ช่วงไหน เช่นกำหนดคร่าวๆ ว่าจะจัดงานในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ช่วงปลายปี เพื่อเราสามารถวางแผนสำหรับการเก็บเงินเพื่อการแต่งงานในลำดับต่อไปอย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถหาข้อมูลเตรียมไว้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วย

 

2. สำรวจค่าใช้จ่ายทั้งหมด

 

เมื่อกำหนดช่วงเวลาที่จะจัดงานแต่งงานแล้ว ลำดับถัดมาคือการประเมินและสำรวจค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องใช้ในงานแต่ง ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง นอกจากค่าสินสอด ในงานแต่งงานมีค่าใช้จ่ายในหลายๆ ส่วนที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ทั้งค่าชุดแต่งงาน ค่าสถานที่ ค่าช่างภาพ ค่าการ์ด ค่าอาหาร ค่า Wedding planer และค่าใช้จ่ายยิบย่อยต่างๆ มากมายที่จะตามมา

 

 

3. เก็บเงินเพื่อการแต่งงาน

 

หลังทราบช่วงเวลา และค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการจัดงานแต่งแล้วก็มาสู่การเก็บเงิน เริ่มจากคุยและตกลงกันระหว่างคู่ โดยอาจกำหนดว่าจะช่วยกันเก็บคนละเท่าไหร่ จะเก็บร่วมกันหรือแยกกันเก็บเพื่อแยกกันจ่ายในคนละส่วน เช่น เก็บเงินคนละ 30-40% ของเงินเดือนที่ได้รับ ฝ่ายชายเก็บในส่วนของค่าสินสอด ส่วนฝ่ายหญิงเก็บเงินในส่วนของงานเลี้ยงและสถานที่ เป็นต้น

 

 

4. เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน

 

นอกจากการออมเงินด้วยวิธีการหักจากเงินเดือนทุกเดือนแล้ว การเพิ่มผลตอบแทนด้วยวิธีการลงทุนก็เป็นอีกทางในที่จะช่วยให้เงินออมนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น อาจลองศึกษาทางเลือกการลงทุนในกองทุนประเภทต่างๆ หรือลงทุนด้วยการซื้อประกันออมทรัพย์ หรือ ประกันสะสมทรัพย์ ที่ให้คุณสามารถออมเงินไปพร้อมกับการคุ้มครองชีวิต อย่าง ประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี มันนี่ ฟิต เวลท์ตี้ 11/5 ที่มีจุดเด่นที่จ่ายเบี้ยสั้น จ่ายเบี้ย 5 ปี รับความคุ้มครองถึง 11 ปี รับเงินคือนระหว่างสัญญาทุกปีสูงสุด 3% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งครบกำหนดสัญญา 11 ปี รับผลตอบแทนรวม 560% และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท คุ้มสุดๆ

 

จุดเด่นของแบบประกันสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษี มันนี่ ฟิต เวลท์ตี้ 11/5

 

·       จ่ายเบี้ยฯ 5 ปี รับความคุ้มครอง 11 ปี*

·       รับเงินคืนระหว่างสัญญาทุกปี*

·       ผลตอบแทนคุ้มค่า เมื่อครบกำหนดสัญญา 11 ปี *

·       ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท ต่อปี*

*เงื่อนไขและรายละเอียดแตกต่างกันตามแต่ละแผนประกัน

 

 

5. ใช้เงินตามแผนที่กำหนด

 

เมื่อผ่านการวางแผนและการเก็บเงินสำหรับงานแต่งมาแล้ว เมื่อถึงขั้นของการจัดงานให้พยายามควบคุมและกำจัดการใช้เงินให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายที่บานปลายและการใช้เงินเกินงบ โดยให้มีการจดบันทึกสิ่งที่ต้องจ่าย ทำบัญชีรายจ่ายทั้งหมดของการจัดงานไว้ เพราะวิธีนี้จะทำให้เราเห็นภาพรวมค่าใช้จ่าย และทำให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายในเรื่องใดที่มากเกินไป และจะสามารถปรับลดอย่างไรได้บ้าง

 

 

การแต่งงานถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญสำหรับใครหลายๆ คน เป็นความทรงจำที่จะอยู่กับคู่บ่าวสาวไปอย่างยาวนาน และยังถือเป็นการเริ่มต้นสำคัญของการสร้างครอบครัวในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น เมื่อมีแพลนจะแต่งงานให้เริ่มศึกษาและให้ความสำคัญกับการออมเงินและการวางแผนการเงินเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะช่วยเพิ่มเงินเก็บในบัญชีและช่วยพาให้คู่รักเข้าใกล้ประตูวิวาห์ได้เร็ววันยิ่งขึ้น