เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน การเกิดอุบัติเหตุก็เช่นกัน แม้เราจะดูแลและระมัดระวังตัวเองดีแค่ไหน แต่อุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนทุกที่และทุกเวลา แบบที่เราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และควรจะรับมือกับอุบัติเหตุเหล่านั้นอย่างไร? วันนี้เราจึงมี 4 วิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุมาฝากกันค่ะ
หลายคนเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็มักจะตกใจจนทำอะไรไม่ถูก จนทำให้อุบัติเหตุเหล่านั้นยิ่งแย่ขึ้นไปอีก ดังนั้นไม่ว่าจะเจอกับอุบัติเหตุเล็กน้อยหรือหนักแค่ไหน สิ่งที่เราต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ “ตั้งสติ” ให้พยายามรวบรวมสติให้ดี แล้วค่อยๆ ประเมินสถานการณ์ตรงหน้าว่าควรทำอย่างไร อย่างเช่น หากเกิดอุบัติเหตุในลื่นล้มจนรับบาดเจ็บ ก็อาจต้องดูบริเวณพื้นว่าเสี่ยงต่อการลื่นล้มอีกครั้งไหม หรือหากขยับร่างกายทันทีแล้วจะเกิดการบาดเจ็บมากกว่าเดิมหรือไม่ เป็นต้น
แน่นอนว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็มักจะมาพร้อมกับอาการบาดเจ็บ กรณีที่มีผู้ได้รับอุบัติเหตุไม่ว่าจะกับตัวเองหรือผู้อื่น ให้สำรวจอาการผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทุกคนว่ามีบาดแผลหรือไม่ บางคนที่ไม่มีบาดแผลมีผู้ที่รู้สึกว่าได้รับบาดเจ็บภายใน เช่น กระดูกหัก หรือทางศีรษะหรือไม่ มีผู้บาดเจ็บกี่ราย รายใดหนักที่สุด เพื่อให้สามารถเลือกช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บได้ตามลำดับอาการ ช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธี และปลอดภัยมากที่สุด
เมื่อพบเจออุบัติเหตุที่มีผู้ได้รับการบาดเจ็บ ก่อนเข้าไปทำการปฐมพยาบาลต้องคำนึงก่อนว่า การช่วยเหลือที่ถูกวิธีนั้นสำคัญมาก เพราะหากได้รับการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกต้องหรือผิดวิธีก็อาจทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บอาการแย่ลงได้ ดังนั้นเราจึงต้องประเมินจากอาการของผู้ได้รับบาดเจ็บและประเภทของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น อย่างเช่น
ให้ดูขนาดและความลึกของแผล แล้วห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดวางทับที่ปากแผลและใช้มือกด ถ้าแผลกว้างมาก มีเลือดออกและจำเป็นต้องเย็บแผล ให้ห้ามเลือดก่อน โดยไม่ต้องล้างแผลแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
เพราะการเกิดอุบัติเหตุทางศีรษะนั้นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นนอกจากจะสำรวจว่ามีแผลหรือเลือดออกแล้วทำการห้ามเลือดแล้ว ให้เช็กการหายใจและสติของผู้ที่ได้บาดเจ็บ ว่ามีสติหรือไม่ หากมีสติให้สอบถามว่าศีรษะเกิดการกระแทกหนักแค่ไหน โดยถ้าเกิดอาการหัวแตกที่ค่อนข้างรุนแรงห้ามขยับตัวผู้ป่วยโดยเด็ดขาด และอีกข้อที่สำคัญคือหากมีของทิ่มอยู่ที่หัวที่เป็นสาเหตุทำให้หัวแตกหรือพบเศษอะไรก็ตามที่แผลพยายามอย่าดึงออกเพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
ข้อสำคัญในการปฐมพยาบาลสำหรับผู้ที่สงสัยว่าอาจเกิดอาการแขนหรือขาหักคือ อย่าดึง หรืออย่าพยายามจัดท่าหรือจัดรูปร่างของอวัยวะนั้นกลับที่ตำแหน่งเดิม ให้คงอวัยวะนั้นให้อยู่นิ่งมากที่สุด โดยอาจหาผ้ามาคล้อง หรือเข้าเฝือกชั่วคราวกรณีมีอุปกรณ์ที่พอจะทำได้ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
เมื่อเกิดน้ำร้อนลวกผิวหนังให้ลบความเชื่อเดิมๆ ในการใช้ยาสีฟัน น้ำแข็ง หรือน้ำปลาทาที่แผลโดยเด็ดขาด สิ่งที่ควรทำคือทำให้ผิวหนังนั้นเย็นลงด้วยการเปิดน้ำอุณหภูมิปกติให้ไหลผ่าน หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใสหรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป โดยหากมีตุ่มก็ไม่ควรเจาะตุ่มพุพองนั้น และหากมีอาการรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์ทันที
เมื่อมีผู้ได้รับการบาดเจ็บในอุบัติเหตุ หลังจากประเมินอาการหรือทำการปฐมพยาบาลแล้วให้รีบนำตัวคนเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ให้เร็วที่สุดก่อน โดยหากเป็นกรณีที่บาดเจ็บเล็กน้อย ผู้ได้รับบาดเจ็บสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ไม่กระทบกับแผลหรือบริเวณที่บาดเจ็บก็สามารถนำคนเจ็บไปส่งด้วยตนเองได้ แต่หากเป็นกรณีที่มีผู้บาดเจ็บค่อนข้างรุนแรง หรือการเคลื่อนย้ายอาจมีผลต่ออาการบาดเจ็บให้แจ้งไปที่สายด่วน 1669 ที่ให้บริการและการช่วยเหลือสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินนอกสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด
เพราะอุบัติเหตุนั้นไม่เลือกคนและเวลาที่เกิด เราไม่มีทางรู้เลยว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับเราหรือคนที่เรารักเมื่อไหร่ ดังนั้นนอกจากวิธีรับมือทั้ง 4 ข้อที่เราเสนอไปข้างต้นแล้ว อีกข้อที่สำคัญในการรับมือกับอุบัติเหตุ คือ การทำประกันอุบัติเหตุ
โดยเฉพาะการทำ ประกันอุบัติเหตุ ออนไลน์ ไทยประกันชีวิต พี.เอ. Love แฟมิลี่ ที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ (ต่อครั้ง) สูงสุด 60,000 บาท มีค่าชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัว สูงสุดถึงวันละ 3,000 บาท นอกจากนี้แล้วยังสามารถทำประกันอุบัติเหตุได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม และซื้อประกันอุบัติเหตุได้ง่ายๆ ที่ ประกันอุบัติเหตุ ไทยประกันชีวิต พี.เอ. Love แฟมิลี่