อาหารเป็นพิษ โรคฮิตหน้าร้อน

อาหารเป็นพิษ,โรคหน้าร้อน

ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ มีหลายเรื่องที่ต้องระวังเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งอาการฮีทสโตรก หน้ามืด เป็นลมง่าย รวมถึงอีกโรคฮิตหน้าร้อนอย่างอาหารเป็นพิษ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูง ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี และทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้ง่ายนั่นเอง

 

สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

ส่วนใหญ่ภาวะอาหารเป็นพิษมักเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ ได้แก่

 

  • ซาลโมเนลลา (Salmonella) ที่พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม 
  • เอ-สเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรืออีโคไล (E. Coli) บางสายพันธุ์ ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ดิบ 
  • คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ซึ่งมักพบในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท โดยเฉพาะอาหารกระป๋องที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ ผักกาดดองกระป๋อง รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น
  • ชิเกลล่า (Shigella) เชื้อชนิดนี้พบการปนเปื้อนทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมไปถึงอาหารสดที่สัมผัสกับคนที่มีเชื้อโดยตรงอีกด้วย

 

นอกจากเชื้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาวะอาหารเป็นพิษในผู้ป่วยบางรายก็อาจเกิดจากสารพิษที่สร้างขึ้นโดยเชื้อโรค หรือสารเคมีบางชนิด เช่น สารตะกั่ว ยาฆ่าแมลง เห็ดพิษ สารหนู หรือสารปรอท เป็นต้น

 

 

อาการของโรคอาหารเป็นพิษ

อาการของโรคส่วนใหญ่เมื่อได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 1 - 2 วัน หรืออาจจะแสดงอาการภายไม่กี่ชั่วโมงหลังทานอาหาร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยอาการต่างๆ ของโรคมีดังนี้

 

  • ท้องเสีย ถ่ายท้อง ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน
  • รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
  • มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร
  • แขนเป็นเหน็บ รวมไปถึงมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

นอกจากนี้ในรายที่มีอาการรุนแรงก็จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

 

  • มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ 
  • มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด
  • ท้องเสียร่วมกับมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • อาเจียนถี่หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง
  • ในผู้ใหญ่อาจท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน หรือในเด็กอาจท้องเสียติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่อาการไม่ดีขึ้น

 

การป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

แม้อาหารเป็นพิษจะเกิดได้ง่าย แต่ก็มีวิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษด้วยตัวเองง่าย ๆ โดยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ดังนี้

 

  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง  
  • การรับประทานอาหารเมื่อปรุงเสร็จทันที หรือสุกใหม่ ๆ 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานสุกๆ ดิบๆ รวมถึงไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบ เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารดิบได้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารค้างคืน 
  • เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง และสัตว์ชนิดอื่น ๆ
  • ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำที่ต้มสุกทุกครั้ง 

 

 

ในช่วงหน้าร้อนที่สามารถเกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ง่ายแบบนี้ นอกจากการดูแลรักษาสุขอนามัยเบื้องต้นแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ คือการคือการดูแลสุขภาพเพิ่มด้วยการซื้อประกันสุขภาพ เพื่อดูแลเราในวันที่เจ็บป่วยนั่นเอง โดยประกันสุขภาพออนไลน์จาก ไทยประกันชีวิต ก็มีตัวเลือกให้เราสามารถเลือกประกันที่เหมาะกับตัวเองได้อย่างหลากหลาย

 

โดยสามารถเข้าไปศึกษาและซื้อประกันสุขภาพได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ของไทยประกันชีวิต รับรองว่ามีประกันที่หลากหลาย พร้อมขั้นตอนการซื้อที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วอย่างแน่นอน

 

ไม่ใช่เพียงโรคฮิตอย่างอาหารเป็นพิษที่เกิดในหน้าร้อนเท่านั้น ไม่ว่าจะช่วงฤดูหรืออากาศแบบไหนก็สามารถเกิดโรคขึ้นได้โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและไม่ละเลยไม่ว่าจะในสภาพอากาศแบบไหน