แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับประเภท โรงพยาบาลที่เข้ารับรักษา ความรุนแรง ระยะของมะเร็ง และวิธีการรักษา ด้วย ดังนั้นเราก็ควรที่จะวางแผนการเงินเพื่อเตรียมรับมือกับโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง โดยการซื้อประกันมะเร็งไว้คุ้มครองตัวเราเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระทางการเงินของครอบครัว เพราะเราคงไม่อยากใช้เงินที่เก็บมาตลอดชีวิตมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลตัวเองจนหมดตัวอย่างแน่นอน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งอาจแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ เช่น ค่าผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Endoscopic Surgery) ค่าฉายรังสี (Radiotherapy) ค่าเคมีบำบัด หรือคีโม (Chemotherapy) ค่ายาต้านฮอร์โมน (Hormonal Treatment) หรือค่ารักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)
ราคาค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้อง จะขึ้นอยู่กับประเภทโรงพยาบาลที่เข้ารักษา ความรุนแรง ระยะของมะเร็ง และวิธีการรักษา ซึ่งสามารถสรุปค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งที่พบบ่อย ได้ดังนี้
มะเร็งศีรษะและลำคอ จัดเป็น 1 ใน 10 อันดับมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศชาย เกิดขึ้นได้ในอวัยวะ ต่างๆ เช่นบริเวณหู คอ จมูก โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่มาจากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ และกรรมพันธุ์ มีวิธีการตรวจวินิจฉัยไม่ยาก แต่ในบางตำแหน่งอาจต้องใช้ความ ชำนาญ และอุปกรณ์เฉพาะในการตรวจ
เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศหญิง โดยจากสถิติทั่วโลกจะพบผู้ป่วย 1 คนจากผู้หญิง 8 คน โอกาสพบมะเร็งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม หรือการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งมะเร็งเต้านมจะมีวิธีการรักษาออกเป็น 2 วิธี คือ รักษาด้วยเทคนิค 3 มิติ และ รักษาด้วยเทคนิค 2 มิติ
มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่มือสอง การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ และสุดท้ายอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม
มะเร็งปากมดลูก จัดเป็นมะเร็งในอันดับที่สองที่พบได้บ่อยในผู้หญิงน่ากลัวไม่แพ้มะเร็งเต้านม เพราะแม้จะไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถเป็นได้ พบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการติดเชื้อไวรัสเฮชพีวี การมีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ มีบุตรจำนวนมาก ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) และไม่เคยตรวจภายใน
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้ในผู้ชายโดยเฉพาะผู้ชายสูงวัยที่เริ่มเข้าสู่วัยชรา เป็นมะเร็งที่พัฒนาในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มักเป็นมะเร็งที่ซ่อนเร้น ไม่ปรากฎอาการในระยะแรกๆ มีสาเหตุมาจาก มีประวัติบิดาหรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ก็สามารถเป็นได้
มะเร็งสมอง เกิดจากเนื้องอกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมในสมอง รวมถึงเซลล์มะเร็งที่แพร่มาจากอวัยวะอื่น มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น การสัมผัสสารเคมี การสูบบุหรี่ หรือประวัติการเกิดโรคมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว ส่งผลต่อร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ปวดศีรษะ เป็นลม คลื่นไส้อาเจียน ปัญหาด้านการทรงตัว ความคิด สติปัญญา ความทรงจำ การพูด การมองเห็น บุคลิกภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
มะเร็งหลอดอาหาร ส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 55-65 ปี เกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยจะเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นในโตออกสู่ผนังด้านนอก ถ้ามะเร็งกระจายผ่านผนังหลอดอาหารจะสามารถเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดใหญ่ในทรวงอก และอวัยวะใกล้เคียง การเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารนั้นมีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมถึงความอ้วน หรือกรดไหลย้อน
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถควบคุมได้ กลายเป็นก้อนหรือเนื้องอก ระยะแรกอาจเป็นเพียงแค่ติ่งเนื้องอกเล็กๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ที่สามารถลุกลามทะลุผนังลำไส้จนแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ซึ่งมีสาเหตุเกิดมาจากสิ่งต่างๆ เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์ติดมันและเนื้อแดงในปริมาณมาก และรับประทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านขบวนการปรุงแต่ง (ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น) ในปริมาณมาก ๆ รับประทานผักผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย เป็นโรคอ้วน สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นต้น
สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกอวัยวะ อุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น พบในผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 60-70 ปี มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเกิด จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ สารเคมี เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น ภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น พันธุกรรมทางครอบครัว เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับ หรือเป็นพร้อมกัน และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส HIV, EBV เป็นต้น
หมายเหตุ*
สำหรับใครสนใจที่จะซื้อประกันมะเร็งเผื่อวางแผนสุขภาพระยะยาวเพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า มะเร็งจะเกิดขึ้นกับเราตอนไหน ยังไงก็ขอฝากประกันดีๆ อย่าง ประกันมะเร็ง จากไทยประกันชีวิต ให้มาช่วยดูแล จะได้ไม่ต้องกังวลว่าค่ารักษาพยาบาลเราจะมากแค่ไหน มีความคุ้มครองที่คุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนก็สามารถทำได้
การเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในวันที่สุขภาพยังแข็งแรงดีเป็นทางเลือกที่ดีในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเรา เพราะโรคมะเร็งบางทีก็มาแบบปุ๊บปั๊บไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อย่างน้อยการมีตัวช่วยอย่างประกันมะเร็ง ก็สามารถคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเราได้ มีค่าชดเชยต่างๆ ที่เราจะได้รับ ก็จะช่วยให้การตัดสินใจเลือกรับการรักษาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นการออมเงินเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระของคนที่อยู่ข้างหลังเรากรณีเราเสียชีวิต ก็ยังได้เงินก้อนมาดูแลครอบครัวได้สักระยะหนึ่ง