ในแต่ละวันเราไม่สามารถจะคาดเดาได้เลยว่าจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอะไรเกิดขึ้นบ้าง และไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน อุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นกับเราได้ทุกที่ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ดูจะเล็กน้อยอย่างข้อเท้าแพลง ที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยและเมื่อเกิดขึ้นแล้วยังตามมาด้วยอาการเจ็บปวดและสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตไม่น้อยเลยทีเดียว
ข้อเท้าแพลง คือภาวะที่มีการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นที่ยึดตรึงบริเวณข้อเท้า โดยมีสาเหตุมาจากการบิดหมุนของข้อเท้าอย่างรวดเร็ว จึงมีผลทำให้เส้นเอ็นยึดตรึงข้อเท้าเกิดการยืดอย่างเฉียบพลัน โดยสำหรับการบาดเจ็บมีได้ตั้งแต่เส้นเอ็นมีลักษณะฟกช้ำไปจนถึงฉีกขาด
อาการของผู้ป่วยข้อเท้าแพลง มักจะปวด บวม ฟกช้ำ หรือจ้ำเลือดบริเวณผิวหนังส่วนของเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ จะมีอาการเจ็บตอนลงน้ำหนัก บางรายไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ หรืออาจลงน้ำหนักได้แต่ค่อนข้างยากลำบาก ซึ่งอาการเหล่านี้ขึ้นกับระดับของอาการ โดยระดับอาการของข้อเท้าพลงนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับนี้อาจจะพบเพียงอาการบวมและเจ็บบริเวณเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ ยังสามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ และอาการมักจะหายภายใน 2 สัปดาห์
ระดับนี้ผู้มีอาการจะปวดและบวมค่อนข้างมากจนอาจจะไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ และอาการมักจะหายใน 4 - 6 สัปดาห์
ระดับนี้เป็นระดับที่รุนแรงมากที่สุด ผู้ป่วยมักจะไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ ส่วนใหญ่จะพบว่ามีความหลวมของข้อเท้า และอาการมักจะต้องใช้เวลาในการรักษา 6 - 10 เดือน โดยอาการในระดับนี้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ค่อนข้างสูง
เมื่อเกิดอาการข้อเท้าแพลงเราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ โดยใช้หลัก R.I.C.E ซึ่งเป็นหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับอาการข้อเท้าแพลง ที่มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. R – Rest คือ การนั่งพักเพื่อสังเกตอาการของข้อเท้า ว่ามีภาวะข้อเท้าแพลงที่รุนแรงหรือไม่
2. I – ICE คือ การประคบเย็นเพื่ออาการลดบวมและช่วยให้เลือดออกน้อยลง ให้ประคบเย็นช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกประคบประมาณครั้งละ 15 นาที ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
3. C – Compression คือ การใช้ผ้าพันบริเวณที่บวม และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
4. E – Evaluation คือ การยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดอาการปวดบวมในระยะแรก
สำหรับอาการข้อเท้าแพลงนั้น หลังการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว โดยทั่วไปจะมีวิธีการรักษาในลำดับต่อไป ดังนี้
1. การพักการใช้งานข้อเท้า และลดการลงน้ำหนักข้อเท้าข้างที่ได้รับบาดเจ็บ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวข้อเท้า เพื่อให้เอ็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บนั้นสมานตัวเองได้อย่างเต็มที่
2. การใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น สายรัดข้อเท้า ผ้ายืด หรือ เฝือกอ่อน ช่วยในการประคองข้อเท้าไว้ในระยะแรก
3. การรับประทานยา ประเภทยาต้านการอักเสบ โดยใช้ในระยะสั้นๆ เพื่อลดอาการเจ็บและปวดบวมในระยะแรก
4. และสำหรับบางรายที่อาการค่อนข้างรุนแรง หรือเป็นผู้ที่ใช้ข้อเท้าหนักๆ อย่างเช่น นักกีฬา นอกจากรับประทานยา การใส่เฝือก หรือใช้อุปกรณ์ประคองข้อเท้าในช่วงแรกแล้ว แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด
ขึ้นชื่อว่า อุบัติเหตุ ก็คือสิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาหรือควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นได้ และไม่ว่าเราจะระมัดระวังมากเพียงใดอุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และเกิดขึ้นได้กับทุกคนในครอบครัว เราจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เหล่านั้น ด้วยประกันอุบัติเหตุ พี.เอ. Love แฟมิลี่ จากไทยประกันชีวิต
ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่รับมือได้ด้วย ประกันอุบัติเหตุ พี.เอ. Love แฟมิลี่ ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด 4,000,000 บาท ในวันหยุดประจำปีกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แถมยังรับเงินชดเชยสูงสุด 240,000 บาท ชดเชยรายได้ให้ครอบครัว 1 ปี กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
แถมได้รับความคุ้มครอง 2 เท่า กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในวันหยุดประจำปี (ในปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป)
มีเงินชดเชยสูงสุดวันละ 3,000 บาท หากนอนในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ เบี้ยฯเริ่มต้นเพียง วันละ 9 บาท จ่ายง่าย สบายกระเป๋า และผลประโยชน์ ความคุ้มครองเพิ่มขึ้นเมื่อทำประกันต่อเนื่อง คุ้มครองคุ้มสุดๆ แบบนี้จะช่วยให้เรารับมือกับอุบัติเหตุไม่คาดฝันทั้งกับตัวเราและคนในครอบครัวได้อย่างรอบด้าน ครอบคลุม และยังสะดวกสบายด้วยการซื้อกรมธรรม์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้อีกด้วย
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด และรายละเอียดอาจแตกต่างกันตามแต่ละแผน